วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

รายงานผลการวิจัย เรื่อง การศึกษาความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อผู้สำเร็จการศึกษา สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชนพังงา ปีการศึกษา 2552

ชื่อโครงการวิจัย   การศึกษาความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อผู้สำเร็จการศึกษา
                                สาขาวิชาการ ปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชนพังงา ปีการศึกษา 2552
ผู้ทำการวิจัย         ว่าที่ร.ต. สายันต์ ปานบุตร หัวหน้าโครงการวิจัย
ปีที่ทำการวิจัย       พ.ศ. 2553


บทคัดย่อ

 
               การศึกษาความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อผู้สำเร็จการศึกษา สาขาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชนพังงา ปีการศึกษา 2552 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยชุมชนพังงา สาขาการปกครองท้องถิ่น โดยมีองค์ประกอบ 3 ด้านคือ ด้านความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการ/วิชาชีพ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และด้านความรู้ความสามารถพื้นฐานที่ส่งผลต่อการทำงาน กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นายจ้าง ผู้ประกอบการหรือหัวหน้างานที่ผู้สำเร็จการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนพังงาเข้าไปทำงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของสถานประกอบการที่ใช้แรงงานผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยชุมชนพังงา จำนวน 25 ชุด ในช่วงเดือนเมษายน 2553 โดยได้รับความร่วมมือตอบแบบสอบถามจำนวน 22 ชุด คิดเป็นร้อยละ 88.00

 
               ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วงอายุ 46-50 ปี มากที่สุด ทำงานในส่วนราชการมากที่สุด และลักษณะของงานที่ผู้สำเร็จการศึกษาปฏิบัติ คือ ด้านกฎหมาย ปกครอง มากที่สุด และผลการศึกษาด้านความพึงพอใจเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยชุมชนพังงา พบว่า นายจ้างมีความพึงพอใจต่อผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยชุมชนพังงาในระดับดี ค่าเฉลี่ย 3.88 นายจ้างมีความพึงพอใจต่อผู้สำเร็จการศึกษามากที่สุดในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่าเฉลี่ย 3.99 อันดับรองลงไป คือ ด้านความรู้ความสามารถพื้นฐานที่ส่งผลต่อการทำงาน ค่าเฉลี่ย 3.88 และอันดับที่สามได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการ/วิชาชีพ ค่าเฉลี่ย 3.72 นายจ้าง/ผู้ประกอบการ มีความพึงพอใจต่อผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยชุมชนพังงาในระดับดีทุกด้าน สำหรับคุณลักษณะย่อยที่นายจ้างมีความพึงพอใจต่อผู้สำเร็จการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนพังงามากที่สุด ได้แก่ ความมีมนุษยสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน ความมีบุคลิกภาพที่ดีแต่งกายเหมาะสม และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สำหรับคุณลักษณะย่อยที่นายจ้างมีความพึงพอใจต่อผู้สำเร็จการศึกษาน้อยที่สุด ได้แก่ ความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร มีความรู้ความเข้าใจด้านองค์กรและการจัดการ และการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง



วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

วิทยาลัยชุมชนพังงานิเทศการจัดการเรียนการสอน

วิทยาลัยชุมชนพังงาไปนิเทศการจัดการเรียนการสอน ณ หน่วยจัดการศึกษาคุระบุรี ในวันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2553 นำโดยนายประพันธ์ วงศ์พานิช ประธานกรรมการสภา วชช.พังงา และนายจำรัส ขนาดผล รอง ผอ. ในการนี้คณะครูอาจารย์พิเศษประจำหน่วยจัดการศึกษาคุระบุรีได้รับคำแนะนำในการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ให้ตรงกับการจัดการเรียนการสอน

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

รายงานผลการวิจัยเรื่อง การศึกษาความต้องการของชุมชนในจังหวัดพังงา กรณีศึกษาอำเภอคุระบุรี

เรื่อง การศึกษาความต้องการการศึกษาของชุมชนในจังหวัดพังงา กรณีศึกษาอำเภอคุระบุรี

คณะผู้วิจัย ว่าที่ ร.ต.สายันต์ ปานบุตร และนายโกศล ตึกขาว

ปีที่ทำการวิจัย พ.ศ. 2553

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาความต้องการการศึกษาของชุมชนในจังหวัดพังงา กรณีศึกษาอำเภอคุระบุรี ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทโดยทั่วไปของชุมชนในอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ด้านความต้องการการศึกษาและการฝึกอาชีพของประชาชนในชุมชนอำเภอคุระบุรี และเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนพังงาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนจังหวัดพังงา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในอำเภอคุระบุรี ได้แก่ ตำบลคุระ ตำบลแม่นางขาว ตำบลบางวัน ตำบลเกาะพระทอง และเทศบาลตำบลคุระ รวมทั้งสิ้นจำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่จัดทำขึ้นจากการดำเนินการจัดเวทีประชาคมของอำเภอคุระบุรี

ผลการวิจัยพบว่า

1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพสมรส มีอายุเฉลี่ย 34 ปี อาศัยอยู่ในเขตตำบลคุระ มีการศึกษาสูงสุดอยู่ที่ระดับมัธยมศึกษา/ปวช. นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และมีรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 5,000-10,000 บาท

2. ผลการศึกษาความต้องการการศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรอนุปริญญา

ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการศึกษาในระดับอนุปริญญาสาขาการปกครองท้องถิ่นมากที่สุด รองลงมาคือสาขาการจัดการทั่วไป คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การศึกษาปฐมวัย และการพัฒนาชุมชน ตามลำดับ โดยช่วงเวลาที่ต้องการเรียนหลักสูตรอนุปริญญามากที่สุด คือ ช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ และสาเหตุสำคัญในการศึกษาต่อที่วิทยาลัยชุมชนพังงา คือ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้ รองลงมาคือเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

3. ความต้องการการศึกษาหลักสูตรระยะสั้น

ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการเรียนหลักสูตรระยะสั้นสาขาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นมากที่สุด รองลงมาคือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) การทำอาหารและขนม กฎหมายเบื้องต้นสำหรับประชาชน ตามลำดับ ต้องการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น 60 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่ต้องการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น คือ วันเสาร์-อาทิตย์ (08.00-16.00 น.) และสาเหตุสำคัญที่เลือกเรียนหลักสูตรระยะสั้นที่วิทยาลัยชุมชนพังงา คือ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รองลงมาคือเพื่อเพิ่มทักษะและสมรรถนะในการประกอบอาชีพ

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หน่วยจัดการศึกษาคุระบุรี ร่วมงานวันแม่ ประจำปี 2553

วิทยาลัยชุมชนพังงา หน่วยจัดการศึกษาคุระบุรี นำโดย อาจารย์สายันต์ ปานบุตร และนักศึกษา สาขาการปกครองท้องถิ่นเข้าร่วมงานวันแม่ ประจำปี 2553 ในวันพฤหัสบดี ที่ 12 สิงหาคม 2553  ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอคุระบุรี โดยมีข้าราชการ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น นักเรียน นักศึกษา และประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมในงานวันแม่

ขอแสดงความยินดีกับผู้สำเร็จการศึกษา

หน่วยจัดการศึกษาคุระบุรี ขอแสดงความยินดีกับผู้สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาที่เข้าร่วมพิธีประสาทอนุปริญญาบัตร ในวันที่ 30 มิถุนายน 2553 ณ วิทยาลัยชุมชนพังงา อ.ทับปุด จ.พังงา

ศึกษาความต้องการการศึกษาของชุมชนคุระบุรี

วิทยาลัยชุมชนพังงา หน่วยจัดการศึกษาคุระบุรี จัดโครงการศึกษาความต้องการการศึกษาของชุมชนในเขตอำเภอคุระบุรี ถึงความต้องการการศึกษาและพัฒนาอาชีพของชุมชน จัดขึ้นในวันที่ 3 สิงหาคม 2553 ณ หน่วยจัดการศึกษาคุระบุรี มีตัวแทนประชาชน สมาชิก อบต. สมาชิกสภาเทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมกว่า 70 คน ซึ่งโครงการศึกษาความต้องการของชุมชนจะทำให้สามารถจัดการศึกษาได้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของชุมชน

เปิดหน่วยจัดการศึกษาคุระบุรี

วิทยาลัยชุมชนพังงา ทำการเปิดหน่วยจัดการศึกษาคุระบุรีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2553 ณ โรงเรียนบ้านกลางประชาสรรค์ หมู่ที่ 2 ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา โดยมีประชาชน หัวหน้าส่วนราชการ อบต. เทศบาล ศิษย์เก่า และคณะครู อาจารย์พิเศษ เข้าร่วม โดยนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพุทธมนต์ให้พรแก่หน่วยจัดฯ

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วัยโจ๋ วชช.พังงา ออกค่ายเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน "คุณธรรมนำชีวิตพอเพียง"

วัยโจ๋ วชช.พังงา ออกค่ายเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน "คุณธรรมนำชีวิตพอเพียง"
การแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ เปิดฉากฟาดแข้งกันไปได้ 1 สัปดาห์ วัยโจ๋หลายคนคงอดตาหลับขับตานอน ตามลุ้นตามเชียร์ทีมในดวงใจของตัวเองกันหลายคืน จนหน้าตาเริ่มส่อเค้าเป็นหมีแพนด้ากันบ้างแล้ว

นี่ยังเหลือเวลาอีกถึง 3 สัปดาห์ กว่าจะถึงรอบชิงชนะเลิศ ยังไงซะก็ขอให้รักษาสุขภาพกันไว้ให้ดี เดี๋ยวถึงรอบชิงชนะเลิศเกิดล้มหมอนนอนเสื่ออดดูขึ้นมาจะหาว่า "นายว้าก" ไม่เตือน

พูดถึง "ฟุตบอลโลกฟีเว่อร์" กันไปแล้ว "นายว้าก" ขอชะแว้บพาไปชมกิจกรรมสร้างสรรค์ของหนุ่มๆ สาวๆ ชาวรั้ววิทยาลัยชุมชน (วชช.) พังงา ที่พากันจัดกิจกรรม "ค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง" ที่ บ้านหัวสวน อ.คุระบุรี จ.พังงา


อาจารย์ สายันต์ ปานบุตร ผู้รับผิดชอบโครงการ เล่าถึงที่มาที่ไปให้ฟังว่า "สาเหตุที่ วชช.พังงา เลือกชุมชนบ้านหัวสวน เนื่องจากเป็นหมู่บ้านต้นแบบของจังหวัดที่ดำเนินชีวิตแบบพอเพียง มีวิธีคิดที่ว่าทุกคนในหมู่บ้านมีความสำคัญเท่าเทียมกัน รับฟังความคิดเห็นของคนส่วนน้อย เพื่อนำมาพิจารณาความสำคัญของปัญหาของคนเหล่านั้นก่อน ซึ่งการจัดโครงการนี้ วิทยาลัย

นำนักศึกษาสาขาการปกครองท้องถิ่น ปี 2 จำนวน 30 คน เข้าไปในหมู่บ้าน เพื่อศึกษาเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรม แนวทางการดำเนินชีวิตบนหลักเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการศึกษาเรียนรู้กับปราชญ์ชาวบ้าน โดยสถาบันหวังว่าสิ่งที่นักศึกษาจะได้รับจากการออกค่าย นักศึกษาจะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน หรือใช้กับชุมชนของตนเองได้"

มาฟังเสียงของวัยโจ๋กันบ้าง "วา" ฮาวา ปาโหด บอกว่า "การเข้าค่ายฯครั้งนี้ วาได้รับมอบหมายให้ศึกษาเรื่องการสร้างความสมานฉันท์ในชุมชน ซึ่งพบว่า การสร้างความสมานฉันท์ควรเริ่มจากในครอบครัวก่อน แล้วจึงพัฒนาไปในระดับชุมชน นอกจากนี้ผู้นำชุมชนจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดของตน แม้เป็นเสียงข้างน้อย เพื่อทำให้เกิดข้อเสนอแนะและความแตกต่าง เพื่อให้ชาวบ้านได้ร่วมกันแก้ไขปัญหา ทำให้วาได้ตระหนักว่า เวลาอยู่ในที่ประชุม ความคิดที่แตกต่างสามารถนำเสนอได้ เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบ ซึ่งอาจส่งให้เกิดผลดีในที่สุด"

ขณะที่หนุ่มมาดเข้ม "นุช" ไพฑูรย์ พืชชน ยิ้มก่อนที่จะเปิดปากบอกว่า "หัวข้อที่ได้รับคือ การสร้างภูมิคุ้มกันของชุมชน ซึ่งในหมู่บ้านนี้หมายถึงการสร้างเกราะป้องกันในเรื่องการประกอบอาชีพในด้านต่างๆ ตลอดจนการดำเนินชีวิตหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งการสร้างภูมิคุ้มกันนี้จะต้องจุดประกายจากครอบครัวแล้วพัฒนาไปที่ระดับชุมชน ซึ่งชุมชนนี้ได้ยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีการปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือน พวกผมเข้าไปสนับสนุนให้ความรู้ว่าสิ่งที่ชาวบ้านทำอยู่เป็นสิ่งดี เพื่อกระตุ้นให้คนที่ยังไม่ได้ทำลงมือปฏิบัติเพิ่มขึ้น"


********************************อ้อ

"อ้อ" ปราณี แซ่เสี้ยว ขอส่งเสียงใสๆ มาร่วมแจมด้วยคนว่า "ได้เรียนรู้จากชาวบ้านเรื่องเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเอง ซึ่งชาวบ้านที่นี่มีการรวมตัวกันของสมาชิกในหมู่บ้าน ทำกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการเกษตร มีการจัดตั้งร้านค้าชุมชน เพื่อจัดหาของกิน ของใช้ อุปกรณ์ ทางการเกษตร ปุ๋ยเคมี มาจำหน่ายให้กับสมาชิกและบุคคลทั่วไป รวมถึงการรวมตัวกันตั้งกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยที่ไม่ได้ราคา ซึ่งทุกกิจกรรมที่ชาวบ้านทำ มีส่วนให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง รู้จักการพึ่งพาตนเอง สิ่งสำคัญที่สุดคือ การมีผู้นำที่ดี"


********************************นุช

ปิดท้ายที่ "บาว" ณัฐดนัย หวังเกสร ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ว่า "ผมได้รับความรู้ มากมายจากคนในชุมชนบ้านหัวสวน โดยเฉพาะเรื่องการประกอบอาชีพ ซึ่งชาวชุมชนแนะนำวิธีการเพาะเห็ดให้ผม และสร้างโรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดเอง แต่สั่งหัวเชื้อจากชาวชุมชนบ้านสวน ซึ่งเห็ดรุ่นแรกได้ออกผลผลิตแล้ว และได้แจกจ่ายให้กับญาติพี่น้องไปรับประทาน รวมทั้งได้ปลูกพืชผักสวนครัวไว้ในบริเวณบ้านด้วย ขณะนี้โรงเพาะเห็ดของผมเป็นที่สนใจของคนในชุมชนมาก หลายคนต้องการจะเพาะเห็ดเอง ผมได้ปรึกษาชาวชุมชนบ้านหัวสวน ซึ่งก็พร้อมที่จะมาเป็นวิทยากรให้"


*********************************บาว

เห็นหนุ่มๆ สาวๆ ชาวรั้ว วชช.พังงาออก "ค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง" ที่ บ้านหัวสวนแล้ว "นายว้าก" ต้องขอปรบมือเป็นกำลังใจให้ดังๆ อย่างน้อยการที่วัยโจ๋ กล้าเปิดใจรับ และเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ที่ดี โดยเฉพาะวิถีชีวิตตามธรรมชาติของชาวบ้านอย่างแท้จริงแล้ว


**********************************วา

อนาคตเราคงมีนักการปกครองมืออาชีพที่เข้าใจชาวบ้าน และพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน.

นายว้าก / รายงาน

ไทยรัฐออนไลน์

* โดย นายว้าก
* 20 มิถุนายน 2553, 05:00 น.

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

* 125 ข่าว
* ไม่มีรูปภาพที่เกี่ยวข้อง
* ไม่มีข้อมูลบุคคลที่เกี่ยวข้อง

tags:
วชช. พังงา คุณธรรมนำชีวิตพอเพียง campus นายว้าก

*
*
*
*

คอลัมน์อื่น ๆ ใน campus
เสถียรธรรมสถานเปิดเวทีสร้างภูมิคุ้มกันวัยโจ๋ ร้อยดวงใจไทยอาสา
"สัตวศาสตร์อาสา"รั้วนนทรีถ่ายทอดค...
ปลุกสังคมไทยมอบแสงสว่างแก่ผู้มืด...
ข่าวอื่นๆ ในการศึกษา
ไทยชื่นชม แอฟริกาใต้ บอลโลกปลอดบุหรี่
สเปรย์น้ำหวาน ขนมอันตราย กินถึงเป...
พบน้ำอยู่ข้างในดวงจันทร์จำนวนมหา...

*
ข่าวร้อน

* ตะลึงรองอธิบดี งามหน้า แซวนมเด็กเสิ..
* โอละพ่อ! มนุษย์แมลงที่แท้เมายาบ้า
* พบน้ำอยู่ข้างในดวงจันทร์จำนวนมหาศา..
* อย.ถอนทะเบียน ยาแก้ท้องผูก พบมีสารก่..

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ทำไม ครู อาจารย์ ควรทำวิจัย

การทำวิจัยมีประโยชน์ต่อคุณครู อาจารย์ ดังนี้

1. คุณครูจะได้ความจริง (Truth) ที่ต้องการเพื่อตอบคำถามของตนเอง ยกเว้น ว่าคุณครูจะไม่เคยตั้งคำถามอะไรเลย คำถามที่ดี ควรจะถามว่า ทำไม (Why) อย่างไร (How) มากกว่า อะไร (What) หากตั้งคำถามที่มีประโยชน์ ก็จะได้รับคำตอบที่มีประโยชน์เช่นกัน นักเรียนก็เช่นเดียวกัน คุณครูควรสอนให้เขารู้จักตั้งคำถามที่ดี เช่น (ผมยกตัวอย่างเอง) การพาไปทัศศึกษาที่อนุสาวรีย์แห่งหนึ่งแล้วให้เด็กจดบันทึกมาส่งครู ครูควรสั่งให้เด็กนักเรียน ตั้งคำถามว่า ทำไมถึงต้องมีอนุสาวรีย์? และทำไมต้องมาอยู่ ณ ที่ตรงนี้? แล้วทำการค้นหา เป็นต้น หากคุณครูยังใส่แว่นตาอันเดิม แล้วมองอย่างเดิม ก็เป็นอย่างเดิม คนที่ประสบความล้มเหลว มักจะตั้งคำถามว่า “จะโทษใครดี” คนที่ประสบความสำเร็จ มักจะตั้งคำถามว่า “จะแก้ไขอย่างไรดี”

2. ผลการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ทำวิจัย เช่น หากเป็นครูอาจารย์ ก็สามารถใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน ผู้สอนมีความมั่นใจในเนื้อหาการสอนมากขึ้น ส่งผลต่อความเชื่อถือของผู้เรียน ผู้สอนและผู้เรียนสนุกมากขึ้น เข้าใจเนื้อหาของวิชาลึกซึ้งขึ้น ผู้สอนมีตัวอย่างของจริง และมีความคิดที่ใกล้โลกความเป็นจริงมากขึ้น

3. มีผลทางบวกต่อความเชื่อมั่นในความสำคัญของตนเอง (Self-Esteem) ของตัวผู้วิจัย มีกระบวนการคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นและคิดได้ชัดเจนมากขึ้น

4.การทำวิจัยจะเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ในศาสตร์หรืออนุศาสตร์นั้นๆ ผลการวิจัยก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม การศึกษา เศรษฐกิจ และธุรกิจ สามารถแปรเปลี่ยนความจริงที่พบเป็นนโยบายและการปฏิบัติต่อไป



การวิจัยก่อให้เกิดการพัฒนาครูและคุณภาพการศึกษา

การวิจัยทำให้

1. ผู้สอน “องอาจ” ยิ่งขึ้น

2. ผู้สอนมีเนื้อหาการสอนแน่น และครบถ้วนยิ่งขึ้น

3. ผู้สอนได้มีโอกาสเป็นนักเรียน

4. ผู้สอนสนุกมากยิ่งขึ้นกับกระบวนการเรียนการสอน

5. ผู้สอนเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ยิ่งขึ้น

6. ผู้สอนเข้าไปอยู่ในกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management)



รศ.ดร.วราภรณ์ สามโกเศศ ได้สรุปไว้ตอนท้ายการบรรยายว่า การวิจัย คือ “การเขย่าไว้ ไม่ให้นอนก้น” การคิดอะไรเหมือนเดิมเดิม จะไม่ก่อให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสิ่งใดเลย ดังนั้น ต้องเขย่าไว้เรื่อยเรื่อย อย่าให้วิชาความรู้ที่มีอยู่เดิมตกตะกอนนอนก้นลงไปข้างล่าง หมั่นเติมองค์ความรู้ใหม่และเขย่าองค์ความรู้เดิมอยู่เสมอ ผสมคละเคล้าให้เข้ากันจนได้ที่ เพื่อจะได้เกิดนวัตกรรมใหม่ใหม่ นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนแก่ลูกศิษย์ของพวกเราต่อไป(คัดลอกจากhttp://chantrawong.blogspot.com/2009/09/blog-post_15.html)

วันเสาร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553

การแข่งขันกีฬาสัมพันธ์วิทยาลัยชุมชนพังงา ปี 2553

วิทยาลัยชุมชนพังงา จัดแข่งขันกีฬาสัมพันธ์ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2553 ในวันที่ 20 มีนาคม 2553 ณ โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาแต่ละสถานที่จัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนพังงา

ค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 53

กลุ่มงานบริการและกิจการนักศึกษา นำโดยอาจารย์วิวัตน์ชัย พิมพ์หอมและอาจารย์สายันต์ ปานบุตร ดำเนินโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2553 ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม -  7 เมษายน 2553 ณ บ้านหัวสวน หมู่ที่ 5 ตำบลแม่นางขาว อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้โดยตรงจากชุมชน ในด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับชุมชน

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

รายงานผลการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง ศึกษาสภาพปัญหาการเรียนของนักศึกษาระดับอนุปริญญา ของสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น รุ่นปี 2550

เรื่อง ศึกษาสภาพปัญหาการเรียนของนักศึกษาระดับอนุปริญญา ของสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น รุ่นปี 2550 สถานที่จัดการศึกษาโรงเรียนคุระบุรีชัยพัฒนาพิทยาคม วิทยาลัยชุมชนพังงา  ที่ลงทะเบียนเรียน วิชา ศศ 0220 เกษตรกรรมท้องถิ่นไทย ในภาคเรียนที่ 1/2552
ผู้วิจัย  ว่าที่ ร.ต.สายันต์  ปานบุตร
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

              นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชา ศศ 0220 เกษตรกรรมท้องถิ่นไทย ในภาคเรียนที่ 1/2552 ระดับอนุปริญญาของสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น สถานที่จัดการศึกษา โรงเรียนคุระบุรีชัยพัฒนาพิทยาคม วิทยาลัยชุมชนพังงา ประสบปัญหาเกี่ยวกับการเรียน ความคิดเห็นอยู่ในระดับ น้อย เช่น ไม่อยากเรียน เบื่อเรียน ไม่ชอบวิชานี้ ไม่เข้าใจบทเรียน และไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ เป็นต้น ด้านความคิดเห็นว่าสาเหตุของปัญหาการเรียนมาจากสาเหตุอะไรนั้น ส่วนใหญ่แล้ว มีความคิดเห็นว่าสาเหตุของปัญหา ปานกลาง เช่น เนื้อหาวิชา อาจารย์ให้งานมากเกินไป อาจารย์สอนเร็วหรือสอนไม่ชัดเจน เป็นต้น

สรุปผล
               นักศึกษาระดับอนุปริญญาของสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น สถานที่จัดการศึกษา โรงเรียนคุระบุรียชัยพัฒนาพิทยาคม วิทยาลัยชุมชนพังงา ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา ศศ 0220 เกษตรกรรมท้องถิ่นไทย ในภาคเรียนที่ 1/2552 นั้น ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนของนักศึกษาอยู่ในระดับน้อย และสาเหตุของปัญหาในการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง เพราะฉะนั้น นักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชานี้ไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อการศึกษา สามารถจบตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ได้

รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาความต้องการการศึกษาของชุมชนจังหวัดพังงา

เรื่อง     การศึกษาความต้องการการศึกษาของชุมชนจังหวัดพังงา

ผู้วิจัย  ว่าที่ร้อยตรีสายันต์ ปานบุตร
ปีที่ทำการวิจัย พ.ศ. 2552
                                      บทคัดย่อ
                  การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาความต้องการการศึกษาของชุมชนจังหวัดพังงา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทโดยทั่วไปของชุมชนในจังหวัดพังงา ด้านความต้องการการศึกษาและการฝึกอาชีพของประชาชนเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนพังงาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนจังหวัดพังงา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในอำเภอเมืองพังงา อำเภอทับปุด อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอท้ายเหมือง อำเภอเกาะยาว อำเภอตะกั่วป่า อำเภอกะปง และอำเภอคุระบุรี รวมทั้งสิ้นจำนวน 493 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่จัดทำขึ้นจากการดำเนินการจัดเวทีประชาคม และแบบสำรวจข้อมูลที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างประชากรของในแต่ละอำเภอในจังหวัดพังงา

ผลการวิจัยพบว่า

1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

             ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามอำเภอที่อยู่อาศัย พบว่า อยู่ในเขตอำเภอท้ายหมืองมากที่สุด รองลงมาคืออำเภอทับปุด ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุตั้งแต่ 31-40 ปี มากที่สุด มีระดับการศึกษาประถมศึกษามากที่สุด และมีอาชีพรับจ้างรายวันมากที่สุด

2. ผลการศึกษาความต้องการการศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรอนุปริญญา

               ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการศึกษาในระดับอนุปริญญาสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจมากที่สุด รองลงมาคือสาขาการศึกษาปฐมวัย สาขาการจัดการทั่วไป และสาขาการปกครองท้องถิ่น ตามลำดับ โดยช่วงเวลาที่ต้องการเรียนมากที่สุด คือ วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-16.30 น. สถานที่ที่สะดวกเรียนมากที่สุด คือ วิทยาลัยชุมชนพังงา และมีความต้องการที่จะกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษามากที่สุด

3. ความต้องการการศึกษาหลักสูตรระยะสั้น

              ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการเรียนหลักสูตรระยะสั้นการนวดแผนไทย มากที่สุด รองลงมาคือ การขับรถยนต์ คอมพิวเตอร์เบื้องต้น และภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ตามลำดับ โดยช่วงเวลาที่ต้องการเรียนมากที่สุด คือ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.30-19.30 น.