วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาท้องถิ่น

               อาจารย์สายันต์ ปานบุตร และอาจารย์วิวัตน์ชัย พิมพ์หอม เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาท้องถิ่นระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กับจังหวัดและองค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคใต้ และการประชุมเสวนารวมพลังวิจัยเพื่อพัฒนาชาติ : ภาคใต้ เมื่อวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมพาวิลเลี่ยน ควีนส์ เบย์ ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่
ซึ่งมีกิจกรรมในงานประกอบด้วย การบรรยายพิเศษ เรื่อง วิจัยกับการพัฒนาที่ยั่งยืน การเสวนา เรื่อง รวมพลังขับเคลื่อนการใช้นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติในมุมมองของหน่วยงาน และการระดมความคิด “รวมพลังวิจัยเพื่อพัฒนาชาติ : ภาคใต้” โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ และเครือข่ายภาคีการวิจัย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ส่วนราชการต่างๆ สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดและจังหวัด สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สภาหอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด ภาคเอกชนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องนายกเทศมนตรี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.และอบจ.) ผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ชาวบ้านประชาชน และสื่อมวลชน จำนวนประมาณ 100 คนเข้าร่วมงาน

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บุคลากร วชช.พังงา ร่วมงานวันปิยะมหาราช ปี 52

คณะครูและบุคลากรวิทยาลัยชุมชนพังงา ได้เข้าร่วมงานวันปิยะมหาราช ประจำปี 2552 ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา ในวันที่ 23 ตุลาคม 2552

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

วิทยาลัยชุมชน : ทางเลือกอุดมศึกษาเพื่อปวงชน

         วิทยาลัยชุมชนพังงา เข้าร่วมจัดงานสัมมนาและแสดงนิทรรศการ "วิทยาลัยชุมชน : ทางเลือกอุดมศึกษาเพื่อปวงชน" ขึ้น ที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 4-5 โซน D ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 4-6 กันยายน 2552  โดยได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชัยวุฒิ บรรณาวัฒน์ เป็นประธานเปิดการสัมมนา โดยมีการนำเสนอผลงานที่ผ่านมาของวิทยาลัยชุมชนต่าง ๆ ทั้ง 19 แห่ง และในวันที่ 6 กันยายน 2552 ได้รับเกียรติจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุลินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ให้สัมภาษณ์ และร่วมเวทีเสวนา โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมแสดงความคิดเห็น

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 52

วิทยาลัยชุมชนพังงา ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2552 ระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม - 7 มิถุนายน 2552 ณ บ้านเผล หมู่ที่ 7 ต.นบปริง อ.เมือง จ.พังงา โดยมีนักศึกษาจากหน่วยจัดวิทยาลัยชุมชนพังงา และโรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" เข้าร่วมในครั้งนี้ โดยมี อ.วิวัตน์ชัย พิมพ์หอม และ อ.สายันต์ ปานบุตร เป็นผู้ควบคุม วัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ประสบการณ์ ในชุมชนที่เข้มเเข็ง เพื่อนำกลับมาใช้ในชีวิตประจำวัน

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน

เศรษฐกิจพอเพียง มีคุณลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป หรือไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ความมีเหตุผล หมายถึง ทุกการตัดสินใจ การกระทำ การลงทุน ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล คำนึงถึงเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเผชิญผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้ ต้องมีเงื่อนไขสำคัญ ๒ ประการ ได้แก่ มีความรู้ คือ มีความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวังในการนำความรู้ วิทยาการเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการปฏิบัติ มีคุณธรรม คือ มีความตระหนัก มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร และใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

พระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มิได้หมายถึง ระบบเศรษฐกิจ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับใคร ไม่ค้าขายไม่ส่งออก ไม่ผลิตเพื่อคนอื่น แต่เป็นแนวคิดที่เน้นการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนบนรากฐานที่เข้มแข็ง โดยชี้ให้เห็นหลักการตนเป็นที่พึ่งของตนเองให้ได้ก่อน จากนั้นจึงพัฒนาตนเองเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถเป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นได้ และนำไปสู่สังคมที่มีการเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้ในที่สุดพอมีพอกินเป็นขั้นที่หนึ่ง ขั้นต่อไปให้มีเกียรติยืนด้วยตนเอง ขั้นที่สามให้นึกถึงผู้อื่น(พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๘)


“---เชื่อว่าประเทศไทย จะสามารถพ้นวิกฤตการณ์ได้ดีกว่าหลายประเทศ เพราะแผ่นดินนี้ยังเหมาะสมกับความเป็นอยู่ได้อย่างที่เคยพูดมาหลายปีแล้วว่าภูมิประเทศยัง “ให้” คือ เหมาะสม แต่ความเป็นอยู่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องอยู่อย่างประหยัดและต้องไปในทางถูกต้อง...”(พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิตดาลัย ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐)

“....คำว่าพอก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอ ดังนั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ ตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง”(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วิทยาลัยชุมชนพังงาเข้าร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์ วชช.ภาคใต้






















วิทยาลัยชุมชนพังงาเข้าร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์วิทยาลัยชุมชน ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2553-2556) ครั้งที่ 1ระหว่างวันที่ 23-26 กรกฏาคม 2552 ณ โรงแรมลีกาเด้นส์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 20-23 สิงหาคม 2552 ณ โรงแรม บีพี สมิหรา อ.เมือง จ.สงขลา โดยมีวิทยาลัยชุมชนภาคใต้ทั้ง 7 แห่งเข้าร่วม

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การประชุมเชิงปฏิบัติการการทำวิจัยในชั้นเรียน











วชช.พังงา จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการทำวิจัยในชั้นเรียน ระหว่างวันที่ 5-7 สิงหาคม 2552 ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน จ.ภูเก็ต

วิทยากรแกนนำด้านเกษตรอินทรีย์

สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน จะดำเนินการจัดตั้งสถาบันเกษตรอินทรีย์วิทยาลัยชุมชนขึ้น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้การทำการเกษตรอินทรีย์ จึงจัดให้บุคลากรวิทยาลัยชุมชน เข้าร่วมการฝึกอบรมเป็นวิทยากรแกนนำด้านการทำเกษตรอินทรีย์ ณ วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว





หลักสูตรวิทยาลัยชุมชน

1. หลักสูตรระยะสั้นของวิทยาลัยชุมชน หมายถึง หลักสูตรระยะสั้นของวิทยาลัยชุมชนมุ่งเน้นการฝึกทักษะ (Skill) โดยมีความรู้ (Knowledge) มีเจตคติที่ดี (Attitude) ตลอดจนกิจนิสัย (Habit) ที่ต้องปลูกฝังให้เกิดในการทำงาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือในชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นหลักสูตรระยะสั้นจึงจัดทำเป็นวิชาที่จบในตัวเองและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง และสามารถเรียนเพิ่มเติมในวิชาที่สูงๆ ขึ้นเป็นกลุ่มวิชาในด้านต่างๆ ได้ โดยมีองค์ประกอบในการจัดทำหลักสูตรดังนี้ คือ รหัสวิชา ชื่อวิชา จำนวนชั่วโมง หมู่วิชา จุดประสงค์ คำอธิบายรายวิชา และความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
2. หลักสูตรอนุปริญญา หมายถึง หลักสูตรอนุปริญญาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอนุปริญญา พ.ศ. 2548 มีปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร มุ่งให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษา

ปรัชญาของวิทยาลัยชุมชน




ปรัชญาของวิทยาลัยชุมชน คือ การศึกษามีคุณค่าอันประมาณค่ามิได้ต่อบุคคลและสังคมโดยส่วนรวมปัจเจกบุคคลจึงควรได้รับการศึกษา เพื่อศึกษาตามศักยภาพแห่งตนและศักยภาพของรัฐ วิทยาลัยชุมชนเกิดขึ้นและดำรงอยู่เพื่อสร้างสรรค์โอกาสทางการศึกษาให้สมาชิกของชุมชนในมิติต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม วิทยาลัยชุมชนพังงา เปิดดำเนินการรับนักศึกษาเข้าเรียนในปีการศึกษา 2549 การจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน ยึดชุมชนเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ และให้ความสำคัญกับความต้องการ ความสนใจของบุคคลในชุมชน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีการศึกษาต่อยอดความรู้ และมีการพัฒนาทักษะงานอาชีพของตน ตลอดจนการฝึกอาชีพทั่วไป