วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

รายงานผลการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง ศึกษาสภาพปัญหาการเรียนของนักศึกษาระดับอนุปริญญา ของสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น รุ่นปี 2550

เรื่อง ศึกษาสภาพปัญหาการเรียนของนักศึกษาระดับอนุปริญญา ของสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น รุ่นปี 2550 สถานที่จัดการศึกษาโรงเรียนคุระบุรีชัยพัฒนาพิทยาคม วิทยาลัยชุมชนพังงา  ที่ลงทะเบียนเรียน วิชา ศศ 0220 เกษตรกรรมท้องถิ่นไทย ในภาคเรียนที่ 1/2552
ผู้วิจัย  ว่าที่ ร.ต.สายันต์  ปานบุตร
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

              นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชา ศศ 0220 เกษตรกรรมท้องถิ่นไทย ในภาคเรียนที่ 1/2552 ระดับอนุปริญญาของสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น สถานที่จัดการศึกษา โรงเรียนคุระบุรีชัยพัฒนาพิทยาคม วิทยาลัยชุมชนพังงา ประสบปัญหาเกี่ยวกับการเรียน ความคิดเห็นอยู่ในระดับ น้อย เช่น ไม่อยากเรียน เบื่อเรียน ไม่ชอบวิชานี้ ไม่เข้าใจบทเรียน และไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ เป็นต้น ด้านความคิดเห็นว่าสาเหตุของปัญหาการเรียนมาจากสาเหตุอะไรนั้น ส่วนใหญ่แล้ว มีความคิดเห็นว่าสาเหตุของปัญหา ปานกลาง เช่น เนื้อหาวิชา อาจารย์ให้งานมากเกินไป อาจารย์สอนเร็วหรือสอนไม่ชัดเจน เป็นต้น

สรุปผล
               นักศึกษาระดับอนุปริญญาของสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น สถานที่จัดการศึกษา โรงเรียนคุระบุรียชัยพัฒนาพิทยาคม วิทยาลัยชุมชนพังงา ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา ศศ 0220 เกษตรกรรมท้องถิ่นไทย ในภาคเรียนที่ 1/2552 นั้น ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนของนักศึกษาอยู่ในระดับน้อย และสาเหตุของปัญหาในการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง เพราะฉะนั้น นักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชานี้ไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อการศึกษา สามารถจบตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ได้

รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาความต้องการการศึกษาของชุมชนจังหวัดพังงา

เรื่อง     การศึกษาความต้องการการศึกษาของชุมชนจังหวัดพังงา

ผู้วิจัย  ว่าที่ร้อยตรีสายันต์ ปานบุตร
ปีที่ทำการวิจัย พ.ศ. 2552
                                      บทคัดย่อ
                  การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาความต้องการการศึกษาของชุมชนจังหวัดพังงา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทโดยทั่วไปของชุมชนในจังหวัดพังงา ด้านความต้องการการศึกษาและการฝึกอาชีพของประชาชนเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนพังงาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนจังหวัดพังงา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในอำเภอเมืองพังงา อำเภอทับปุด อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอท้ายเหมือง อำเภอเกาะยาว อำเภอตะกั่วป่า อำเภอกะปง และอำเภอคุระบุรี รวมทั้งสิ้นจำนวน 493 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่จัดทำขึ้นจากการดำเนินการจัดเวทีประชาคม และแบบสำรวจข้อมูลที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างประชากรของในแต่ละอำเภอในจังหวัดพังงา

ผลการวิจัยพบว่า

1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

             ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามอำเภอที่อยู่อาศัย พบว่า อยู่ในเขตอำเภอท้ายหมืองมากที่สุด รองลงมาคืออำเภอทับปุด ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุตั้งแต่ 31-40 ปี มากที่สุด มีระดับการศึกษาประถมศึกษามากที่สุด และมีอาชีพรับจ้างรายวันมากที่สุด

2. ผลการศึกษาความต้องการการศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรอนุปริญญา

               ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการศึกษาในระดับอนุปริญญาสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจมากที่สุด รองลงมาคือสาขาการศึกษาปฐมวัย สาขาการจัดการทั่วไป และสาขาการปกครองท้องถิ่น ตามลำดับ โดยช่วงเวลาที่ต้องการเรียนมากที่สุด คือ วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-16.30 น. สถานที่ที่สะดวกเรียนมากที่สุด คือ วิทยาลัยชุมชนพังงา และมีความต้องการที่จะกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษามากที่สุด

3. ความต้องการการศึกษาหลักสูตรระยะสั้น

              ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการเรียนหลักสูตรระยะสั้นการนวดแผนไทย มากที่สุด รองลงมาคือ การขับรถยนต์ คอมพิวเตอร์เบื้องต้น และภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ตามลำดับ โดยช่วงเวลาที่ต้องการเรียนมากที่สุด คือ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.30-19.30 น.