อาจารย์สายันต์ ปานบุตร และอาจารย์วิวัตน์ชัย พิมพ์หอม เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาท้องถิ่นระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กับจังหวัดและองค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคใต้ และการประชุมเสวนารวมพลังวิจัยเพื่อพัฒนาชาติ : ภาคใต้ เมื่อวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมพาวิลเลี่ยน ควีนส์ เบย์ ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่
ซึ่งมีกิจกรรมในงานประกอบด้วย การบรรยายพิเศษ เรื่อง วิจัยกับการพัฒนาที่ยั่งยืน การเสวนา เรื่อง รวมพลังขับเคลื่อนการใช้นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติในมุมมองของหน่วยงาน และการระดมความคิด “รวมพลังวิจัยเพื่อพัฒนาชาติ : ภาคใต้” โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ และเครือข่ายภาคีการวิจัย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ส่วนราชการต่างๆ สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดและจังหวัด สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สภาหอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด ภาคเอกชนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องนายกเทศมนตรี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.และอบจ.) ผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ชาวบ้านประชาชน และสื่อมวลชน จำนวนประมาณ 100 คนเข้าร่วมงาน
วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
บุคลากร วชช.พังงา ร่วมงานวันปิยะมหาราช ปี 52
คณะครูและบุคลากรวิทยาลัยชุมชนพังงา ได้เข้าร่วมงานวันปิยะมหาราช ประจำปี 2552 ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา ในวันที่ 23 ตุลาคม 2552
วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552
วิทยาลัยชุมชน : ทางเลือกอุดมศึกษาเพื่อปวงชน
วิทยาลัยชุมชนพังงา เข้าร่วมจัดงานสัมมนาและแสดงนิทรรศการ "วิทยาลัยชุมชน : ทางเลือกอุดมศึกษาเพื่อปวงชน" ขึ้น ที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 4-5 โซน D ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 4-6 กันยายน 2552 โดยได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชัยวุฒิ บรรณาวัฒน์ เป็นประธานเปิดการสัมมนา โดยมีการนำเสนอผลงานที่ผ่านมาของวิทยาลัยชุมชนต่าง ๆ ทั้ง 19 แห่ง และในวันที่ 6 กันยายน 2552 ได้รับเกียรติจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุลินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ให้สัมภาษณ์ และร่วมเวทีเสวนา โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมแสดงความคิดเห็น
วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 52
วิทยาลัยชุมชนพังงา ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2552 ระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม - 7 มิถุนายน 2552 ณ บ้านเผล หมู่ที่ 7 ต.นบปริง อ.เมือง จ.พังงา โดยมีนักศึกษาจากหน่วยจัดวิทยาลัยชุมชนพังงา และโรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" เข้าร่วมในครั้งนี้ โดยมี อ.วิวัตน์ชัย พิมพ์หอม และ อ.สายันต์ ปานบุตร เป็นผู้ควบคุม วัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ประสบการณ์ ในชุมชนที่เข้มเเข็ง เพื่อนำกลับมาใช้ในชีวิตประจำวัน
วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
เศรษฐกิจพอเพียง มีคุณลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป หรือไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ความมีเหตุผล หมายถึง ทุกการตัดสินใจ การกระทำ การลงทุน ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล คำนึงถึงเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเผชิญผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้ ต้องมีเงื่อนไขสำคัญ ๒ ประการ ได้แก่ มีความรู้ คือ มีความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวังในการนำความรู้ วิทยาการเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการปฏิบัติ มีคุณธรรม คือ มีความตระหนัก มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร และใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
พระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มิได้หมายถึง ระบบเศรษฐกิจ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับใคร ไม่ค้าขายไม่ส่งออก ไม่ผลิตเพื่อคนอื่น แต่เป็นแนวคิดที่เน้นการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนบนรากฐานที่เข้มแข็ง โดยชี้ให้เห็นหลักการตนเป็นที่พึ่งของตนเองให้ได้ก่อน จากนั้นจึงพัฒนาตนเองเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถเป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นได้ และนำไปสู่สังคมที่มีการเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้ในที่สุดพอมีพอกินเป็นขั้นที่หนึ่ง ขั้นต่อไปให้มีเกียรติยืนด้วยตนเอง ขั้นที่สามให้นึกถึงผู้อื่น(พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๘)
“---เชื่อว่าประเทศไทย จะสามารถพ้นวิกฤตการณ์ได้ดีกว่าหลายประเทศ เพราะแผ่นดินนี้ยังเหมาะสมกับความเป็นอยู่ได้อย่างที่เคยพูดมาหลายปีแล้วว่าภูมิประเทศยัง “ให้” คือ เหมาะสม แต่ความเป็นอยู่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องอยู่อย่างประหยัดและต้องไปในทางถูกต้อง...”(พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิตดาลัย ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐)
“....คำว่าพอก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอ ดังนั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ ตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง”(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
พระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มิได้หมายถึง ระบบเศรษฐกิจ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับใคร ไม่ค้าขายไม่ส่งออก ไม่ผลิตเพื่อคนอื่น แต่เป็นแนวคิดที่เน้นการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนบนรากฐานที่เข้มแข็ง โดยชี้ให้เห็นหลักการตนเป็นที่พึ่งของตนเองให้ได้ก่อน จากนั้นจึงพัฒนาตนเองเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถเป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นได้ และนำไปสู่สังคมที่มีการเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้ในที่สุดพอมีพอกินเป็นขั้นที่หนึ่ง ขั้นต่อไปให้มีเกียรติยืนด้วยตนเอง ขั้นที่สามให้นึกถึงผู้อื่น(พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๘)
“---เชื่อว่าประเทศไทย จะสามารถพ้นวิกฤตการณ์ได้ดีกว่าหลายประเทศ เพราะแผ่นดินนี้ยังเหมาะสมกับความเป็นอยู่ได้อย่างที่เคยพูดมาหลายปีแล้วว่าภูมิประเทศยัง “ให้” คือ เหมาะสม แต่ความเป็นอยู่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องอยู่อย่างประหยัดและต้องไปในทางถูกต้อง...”(พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิตดาลัย ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐)
“....คำว่าพอก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอ ดังนั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ ตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง”(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552
วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552
วิทยากรแกนนำด้านเกษตรอินทรีย์
หลักสูตรวิทยาลัยชุมชน
1. หลักสูตรระยะสั้นของวิทยาลัยชุมชน หมายถึง หลักสูตรระยะสั้นของวิทยาลัยชุมชนมุ่งเน้นการฝึกทักษะ (Skill) โดยมีความรู้ (Knowledge) มีเจตคติที่ดี (Attitude) ตลอดจนกิจนิสัย (Habit) ที่ต้องปลูกฝังให้เกิดในการทำงาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือในชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นหลักสูตรระยะสั้นจึงจัดทำเป็นวิชาที่จบในตัวเองและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง และสามารถเรียนเพิ่มเติมในวิชาที่สูงๆ ขึ้นเป็นกลุ่มวิชาในด้านต่างๆ ได้ โดยมีองค์ประกอบในการจัดทำหลักสูตรดังนี้ คือ รหัสวิชา ชื่อวิชา จำนวนชั่วโมง หมู่วิชา จุดประสงค์ คำอธิบายรายวิชา และความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
2. หลักสูตรอนุปริญญา หมายถึง หลักสูตรอนุปริญญาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอนุปริญญา พ.ศ. 2548 มีปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร มุ่งให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษา
2. หลักสูตรอนุปริญญา หมายถึง หลักสูตรอนุปริญญาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอนุปริญญา พ.ศ. 2548 มีปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร มุ่งให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษา
ปรัชญาของวิทยาลัยชุมชน
ปรัชญาของวิทยาลัยชุมชน คือ การศึกษามีคุณค่าอันประมาณค่ามิได้ต่อบุคคลและสังคมโดยส่วนรวมปัจเจกบุคคลจึงควรได้รับการศึกษา เพื่อศึกษาตามศักยภาพแห่งตนและศักยภาพของรัฐ วิทยาลัยชุมชนเกิดขึ้นและดำรงอยู่เพื่อสร้างสรรค์โอกาสทางการศึกษาให้สมาชิกของชุมชนในมิติต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม วิทยาลัยชุมชนพังงา เปิดดำเนินการรับนักศึกษาเข้าเรียนในปีการศึกษา 2549 การจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน ยึดชุมชนเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ และให้ความสำคัญกับความต้องการ ความสนใจของบุคคลในชุมชน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีการศึกษาต่อยอดความรู้ และมีการพัฒนาทักษะงานอาชีพของตน ตลอดจนการฝึกอาชีพทั่วไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)